Continuous Performance Management
Key Learning
เข้าใจแนวคิดพื้นฐาน พัฒนาการ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และแนวปฏิบัติการที่เกี่ยวกับบริหารผลงาน เพื่อให้เกิดมุมมองที่สามารถพัฒนาปรับปรุง และสร้างกระบวนการบริหารผลงานใหม่ที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล และ future of work
เหมาะสำหรับ
HR , OD Professional
HR Leaders
Line Managers
ระยะเวลา
1วัน
พื้นฐานความรู้ที่เป็นประโยชน์
การพัฒนาองค์กร
รูปแบบ
บรรยาย
กิจกรรมกลุ่ม
กรณีศึกษา
What you will learn ...
ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีและแนวคิดที่เป็นพื้นฐานของการบริหารผลปฏิบัติงาน การกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ
แนวโน้มของปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารผลการปฏิบัติงานในปริบทของ future of work
กรอบแนวคิดในการออกแบบกระบวนการประเมินผลงาน ซึ่งเชื่อมโยงกับกระบวน HR อื่นๆ และสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจ
รูปแบบการบริหารผลงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ข้อดีและข้อจำกัดในแต่ละรูปแบบ เช่น KPI และ OKR ตลอดจนตัวอย่างแนวปฏิบัติจากองค์กรชั้นนำ
หลักการสำคัญของการสนทนาเพื่อบริหารผลงานระหว่างหัวหน้างานและผู้ใต้บังคับบัญชา
วิธีการ step-by-step, ตัวอย่าง, แบบฟอร์ม ที่พร้อมนำไปปรับใช้ได้โดยทันที
Program Overview
องค์ประกอบของกระบวนการบริหารผลงานตั้งแต่องค์ประกอบพื้นฐานจนถึงองค์ประกอบที่ช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับการบริหารผลงานโดยมีความเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ และกระบวนการ HR อื่นๆ เช่น การพัฒนาและฝึกอบรม การบริหารผู้สืบทอดตำแหน่ง ความก้าวหน้าในอาชีพ การบริหารค่าตอบแทนและรางวัล เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมในการบริหารผลงานของหัวหน้างานและพนักงาน
แนวทางในการบริหารผลงานที่นำมาปฏิบัติโดยองค์กรชั้นนำในปัจจุบัน เช่น การทำงานแบบ Remote / Hybrid, continuous feedback, forward looking, multi-perspectives และ no-ranking รวมทั้งความรู้ ข้อดี และข้อจำกัดของ Objective & Key Results เพื่อนำมาปรับใช้เพื่อออกแบบระบบบริหารผลงานให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการขององค์กร
แนวทางในการบริหารผลงานที่องค์กรของผู้ร่วมอบรมดำเนินการอยู่รวมถึง ประสิทธิภาพ ความท้าทาย ปัญหา และอุปสรรคที่ประสบอยู่่
แนวปฏิบัติในการเชื่อมโยงกระบวนการบริหารผลงานกับกระบวนการ HR อื่นๆ เช่น การพัฒนาและฝึกอบรม การบริหารผู้สืบทอดตำแหน่ง การบริหารค่าตอบแทนและรางวัล ความก้าวหน้าในอาชีพ เป็นต้น
การสนทนา 3 ประเภท (performance dialogue) ที่จะทำให้การบริหารผลงานมีประสิทธิภาพ
(1) Performance and Growth Dialogue
(2) Check-in
(3) Retrospective Dialogue
แนวปฏิบัติเพื่อบริหารจัดการผู้มีผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน (Performance Improvement Plan- PIP) กรอบการวิเคราะห์สาเหตุเมื่อพนักงานมีผลการปฏิบัติงานต่ำกว่ามาตรฐาน และขั้นตอนการปฏิบัติที่ช่วยพัฒนาพนักงาน และสอดคล้องกับหลักกฏหมาย
เทคโนโลยี เทคนิคและเครื่องมือต่างๆในยุคดิจิตอลที่สามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการบริหารผลงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Dashboard และ ตัวชี้วัดสำคัญที่เกี่ยวกับกระบวนการบริหารผลงาน ทั้งในแง่ประสิทธิภาพของกระบวนการและผลกระทบ (impact) ที่เกิดจากการนำกระบวนการมาปฏิบัติ
สำหรับหลักสูตรแบบ in-house program
ท่านสามารถออกแบบกิจกรรมที่ตอบโจทย์เฉพาะขององค์กรได้ เช่น
กิจกรรมกลุ่มระดมความคิด เพื่อเป็น input หรือแนวทางในการกำหนด Road Map เพื่อพัฒนาและนำระบบการบริหารผู้สืบทอดตำแหน่ง และ การบริหารพนักงานผู้มีศักภาพไปใช้ให้เกิดผลจริง