เมื่อ “งาน” ไม่เท่ากับ “ตำแหน่งงาน”อีกต่อไป เราควรทำอย่างไร
แต่เดิมคนเราก็ทำทุกอย่างโดยไม่มีเส้นแบ่งว่าเป็นชีวิต หรือเป็นงาน และไม่แบ่งว่าใครทำหน้าที่อะไร จวบจนกระทั่งยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมราวปี 1760 หรือ พ.ศ 2300 ที่การค้าขยายเติบโตไปยังภูมิภาคต่างๆ ของโลกอย่างรวดเร็ว ทำให้นักจิตวิทยาอุสาหกรรมและนักวิทยาศาสตร์คิดวิธีการทำงานซึ่งมีประสิทธิภาพที่สุด และหนึ่งในแนวคิดที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายก็คือ การแบ่งหน้าที่งานที่ชัดเจนและมอบหมายให้แต่ละคนทำหน้าที่เพียงอย่างเดียวให้ดีที่สุด (Division of labor) แนวคิดดังกล่าวค่อยๆ พัฒนาต่อมาเป็นการกำหนด ใบพรรณาตำแหน่งหน้าที่งาน (Job description) ที่เรายังคงใช้กันทุกวันนี้
ในทางทฤษฎีเราเชื่อว่าตำแหน่งจะสะท้อน หน้าที่ความรับผิดชอบซึ่งองค์กรคาดหวังว่าผู้ดำรงตำแหน่งควรต้องทำให้สำเร็จ แต่หากสังเกตุให้ดี เราจะพบว่าต่อให้ตำแหน่งงานนั้นมีขอบเขตชัดเจนขนาดไหนก็ไม่สามารถกำหนดให้ตายตัวได้ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของบรรทัดสุดท้ายใน job description ที่ระบุว่า “และงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย”
ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว การระบุความรับผิดชอบในลักษณะ 1ต่อ 1 คือ 1งานมีผู้รับผิดชอบ 1 คน อาจจะเป็นแนวคิดที่ไม่ทันต่อยุคสมัย เพราะ ใน 1ตำแหน่งงานประกอบไปด้วยงานหลักๆ หลายด้าน (5-7) ซึ่งแต่เดิมเทคโนโลยียังเน้นที่การคิดค้นระบบอัตโนมัติเพื่อทำหน้าที่แทนแรงงานคนในกระบวนการผลิต เมื่อมีการนำระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติมาใช้ ก็มักจะคิดถึงการนำเทคโนโลยีมาแทนคนทั้งหมดทั้งกระบวนการ เวลาจะลดคน ก็จะทำทั้งสายการผลิต แต่เทคโนโลยีปัจจุบันก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีกลุ่มปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) ซึ่งเริ่มมีบทบาทในงานประเภทที่ใช้ความคิดวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้น มีการนำ AI มาเพิ่มช่วยขีดความสามารถของธุรกิจโดยไม่ได้จำกัดเพียงการทดแทนแรงงานในกระบวนการผลิต แต่ยังนำมาใช้ในกลุ่มKnowledge worker เพื่อ ปรับกระบวนการในงานบางอย่างเป็นรูปแบบอัตโนมัติ ช่วยรวบรวมข้อมูลเชิงลึก ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนช่วยสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและพนักงานภายในองค์กร
ดังนันจึงจำเป็นที่องค์กรต้องเปลี่ยนกรอบคิด และให้ความสำคัญกับการแยกองค์ประกอบของตำแหน่งให้ออกมาเป็นงาน(Un-bundle job)เพื่อพิจารณาว่า เทคโนโลยีจะเข้ามาทดแทน (automated) หรือทำงานร่วมกับ (augmented) คนในส่วนไหน และเมื่อทราบแล้วว่างานใดไม่จำเป็นต้องใช้คนทำงานดังเดิม เราจะนำเวลาที่เคยใช้ในการทำงานนั้น ไปทำสิ่งที่มีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น ซึ่ง AI ยังทำไม่ได้ จากนั้นก็จะได้สร้างขีดความสามารถ (Reskill/Upskill)ใ ห้ผู้ดำรงตำแหน่งเดิมสามารถทำงานในขอบเขตใหม่ได้ หรือหากทักษะที่ผู้ดำรงตำแหน่งเดิมมีอยู่ ไม่ได้เป็นทักษะที่จำเป็นต่อองค์กรเพราะรูปแบบการทำธุรกิจเปลี่ยนไป ก็จะพัฒนาทักษะเพื่อแตรียมความพร้อมให้สามารถออกไปหาโอกาสที่เหมาะสมภายนอกได้ (outkill)
ในอนาคตอันใกล้ เราก็จะเข้าสู่ยุคแพลท์ฟอร์มเต็มตัว และเมื่อถึงเวลานั้น แพล์ทฟอร์มจะทำหน้าที่ในการเชื่อม ระหว่าง งานย่อยๆ ของโปรเจคกับผู้มีทักษะจะทำงานย่อยๆ ในแต่ละชื้นได้ โดยไม่สนใจว่าจะเป็นพนักงานประจำ หรือ Contingent Worker หรือJobsharing หรือ AI และไม่สนใจว่าจะทำงานจากที่ไหน รูปแบบการจ้างและการจ่ายเป็นอย่างไร
พัฒนาการของสถานการณ์ที่อธิบายให้เห็นภาพดังกล่าวนี้ คือสิ่งที่องค์กรต้องทำความเข้าใจและเตรียมตัวรับมือเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านอย่างราบรื่นและมีประสิทธภาพ
Comments